วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

สรุปวิจัย




หัวข้อวิจัย : ผลการจัดกิจกรรมวิมยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุุ 6-7 ปี
ผู้วิจัย : นางสาว ปุญจรีย์ กัมปนาทโกศล ปี 2552

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปีใน ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัดทักษะการจำแนกประเภทและทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

สมมุติฐานการวิจัย
 ได้ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาลผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากร คือ เด็กอายุ 6-7ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมศึกษา
1.1 มีการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา
1.2เป็นโรงเรียนที่มีการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาและเผยแพร่การศึกษาของประเทศ
1.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมและเสริมประสบการณ์นอกเวลาการเรียนการสอนปกติ

2.ระยะเวลาในการทดลองรวม 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที

3.ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย
3.1 ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่
3.1.1 กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
3.1.2กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ

3.2ตัวแปรตามคือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะได้แก่
3.2.1 ทักษะการสังเกต
3.2.2 ทักษะการวัด
3.2.3 ทักษะการจำแนกประเภท
3.2.4 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

สรุปการวิจัย
 การวิจัยเรื่องนี้เป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กการวิจัยนี้จัดขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียนเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปีใน4ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัดทักษะการจำแนกประเภทและทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ผลการทดลองหลังการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น