วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ครั้งที่ 5 
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ 2562

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตนเองและอาจารย์ก็มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนพิมใบการทดลอง็ โดยเมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ส่งให้เพื่อนรวบรวมมาส่งครูโดยเลือกการทดลองมากลุ่มละ1การทดลองแล้วมานำเสนอในคาบถัดไป
ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน




                              รูปที่ 1 วัสดุอุปกรณ์   รูปที่ 2 งูกะดาษเต้นระบำ  รูปที่ 3 จุดไฟที่ด้านบนของถุง

แนวคิดหลักและการทดลอง
อากาศร้อนขยายตัว เคลื่อนที่เร็วและมีน้ำหนักน้อยกว่า
อากาศเย็น อากาศร้อนจึงเคลื่อนที่ด้านบน ส่วนอากาศเย็นจะหดตัวและเคลื่อนที่ช้า
เริ่มต้นจาก
-ตั้งคำถาม ในฤดูร้อนเด็กๆ เคยเห็นไอร้อนลอยขึ้นมาจากสนามบ้างไหม
- เด็กๆสามารถทดลองกับกระดาษเพื่อการศึกษาลักษณะของลมร้อนได้ โดยให้วาดวงกลมตามแบบลงบนกระดาษและใช้กรรไกรตัดออกมา ครูสอนวิธีวาดงูลงบนกระดาษแผ่นวงกลมให้กับเด็ก และให้เด็กใช้สีเมจิกในการวาดเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อเด็กๆระบายสี “ งู ” เสร็จแล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดตามเส้นที่วาดรูปงูออกมา
-เจาะรูที่จุดกึ่งกลางหัวงู และร้อยด้ายเข้าไป อาจใช้กระดาษกาวติดตรงบริเวณที่ร้อยด้ายเพื่อเพิ่มความ
แข็งแรงให้กับงูกระดาษ ( รูปที่2)
-แขวนงูกระดาษไว้เหนือเครื่องทำความร้อน หรือจัดโคมไฟตั้งพื้นให้ฉายไฟขึ้นข้างบน โปรดเตือนเด็กๆ สังเกตเห็นอะไรบ้าง และเมื่อเปิดไฟจะเกิดอะไรขึ้น
-เด็กๆรู้สึกอย่างไรเมื่อนำมือไปยังเหนือโคมไฟที่เปิดทิ้งไว้
ทดลองต่อไป
-ทำไมโคมลอยหรือบอลลูนถึงลอยขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ หรือแม้กระทั่งใบพัดหรือปีก
การทดลองต่อไปนี้สามารถอธิบายได้ โดยเด็กๆจะเป็นผู้ทำการทดลองเองทั้งหมด
-วางจานกระเบื้องลงบนโต๊ะสำหรับกันไฟ เตรียมไฟแช็กและน้ำไว้ให้พร้อมสำหรับดับไฟ ให้เด็กแต่ละคนหาที่ยืนหรือนั่งเพื่อให้สามารถสังเกตการทดลองได้ตลอดเวลาอย่าให้มีพัดลมภายในห้อง
-ครูช่วยเด็กแต่ละคนตัดถุงชา โดยตัดด้านบนตรงที่ผูกเชือกไว้ออก แล้วเทผงชาที่อยู่ข้างในทิ้ง
- ค่อยๆ แยกถุงชาออกจากกัน และจับให้เป็นทรงกระบอกแล้ววาง “ ท่อถุงชา ” ไว้บนจานในลักษณะตั้ง
- ต่อไปนี้ สิ่งที่น่าตื่นเต้นจะเกิดขึ้น จุดไฟที่ด้านบนของท่อถุงชา (รูปที่ 3) เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น


                                         รูปที่ 4 ถุงชากำลังลุกไหม้     รูปที่ 5 เถ้าถุงชาลอยขึ้นไปในอากาศ
เกิดอะไรขึ้น
-งูกระดาษที่แขวนอยู่เหนือเครื่องทำความร้อนจะหมุนและเริ่ม “เต้นระบำ” ถุงชาจะไหม้จากบนลงล่าง
( รูปที่ 4) ก่อนที่จะไหม้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะลอยขึ้นไปในอากาศประมาร  1-1.5 เมตร (รูปที่ 5) และลอยต่ำลงมาเมื่อเย็นตัวลง
คำแนะนำ
ครูค้นหาภาพโคมลอยหรือบอลลูนให้เด็กๆช่วยกันวาดภาพดังกล่าว เราสามารถสังเกตหลักการการทำงานหรือโครงสร้างของบอลลูนจากภาพได้หรือไม่ช่วยกันจุดเทียนไขหลายเล่ม ( ระวังความร้อนจากเปลวไฟ) แล้วให้ดับเทียนทีละเล่ม เด็กๆสังเกตเห็นอะไรบ้าง ขณะที่เทียนดับลงทีละเล่ม และมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสาเหตุของสิ่งที่สังเกตได้นั้น เด็กอาจจะเคยสังเกตว่าอากาศที่เตียงชั้นบนมักจะอุ่นกว่าชั้นล่างนั่นเป็นเพราะอากาศที่ร้อนกว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นด้านบน การทดลองเผาท่อถุงชาจะตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ถ้าครูเล่าเรื่องประกอบให้เด็กฟัง

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น อากาศประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆจำนวนมาก
เมื่ออากาศร้อนขึ้นอนุภาคเหล่านี้จะผลักดันและและชนกันแรงขึ้นทำให้ระยะห่างระหว่างอนุภาคมีมากขึ้นอากาศร้อนต้องการพื้นที่มากกว่าอากาศร้อน เย็นในปริมาณที่เท่ากันเด็กๆสามารถเล่นสนุกได้โดยสมมติว่า เด็กแต่ละคนคืออนุภาคอากาศเมื่ออากาศเย็นให้เด็กยืนชิดกันมากๆ และพยายามเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุดเมื่อเมื่ออากาศร้อนขึ้นให้เด็กๆยืนเต้น ซึ่งต้องการพื้นที่มากขึ้นและชนมากขึ้นด้วยเนื่องจากอนุภาคที่ร้อนนั้นอยู่ห่างกันมากความหนาแน่นของอากาศจึงน้อยกว่าและเบากว่า อากาศร้อนปริมาตร 1 ลิตร มีมวลน้อยกว่าอากาศเย็น 1 ลิตร อากาศร้อนอากาศเย็นจึงขึ้นสู่ด้านบน วัตถุที่มีน้ำหนักเบา เช่น งูกระดาษในการทดลองนี้สามารถเคลื่อนไหวได้เนื่องจากกระแสของลมร้อนที่เคลื่อนสู่ด้านบน ในกรณีของท่อถุงชาที่ไหม้ไฟ ทำให้อากาศร้อนเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน เช่นกัน จึงนำเข้าของถุงชา ที่ไหม้ไพ่ซึ่งยังคงเกาะติดกันลอยขึ้นไปในอากาศด้านบนด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น