วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ครั้งที่ 8
วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ 2562



ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจัดทำโครงงานที่ได้นำเสนอไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วเขียนรายละเอียดของโครงงานให้ครบถ้วนตามที่อาจารย์สั่งียดระบุวันเวลาห้ครบถ้วนตามที่อาจารย์สั่งโดยระบุวันเวลาที่ดำเนินการทดลองให้ถูกต้อง ตามแผนงานที่ได้รับ

ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน




ประเมินตนเอง
ได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานร่วมกัน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดี เข้าใจง่าย


ครั้งที่ 7
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ 2562



ความรู้ที่ไดัรับ
  วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการทดลองต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้กลุ่มที่เหลือออกมานำเสนอหน้าห้องทีละกลุ่ม  หลังจากนำเสนอครบทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มแล้วให้นักศึกษาทำการทดลองว่าจะทำอย่างไรน้ำในแก้วมันถึงจะล้น โดยใช้เหรียญ 1 บาททั้งหมดกี่เหรียญ

ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน





กิจกรรมในวันนี้





อุปกรณ์
1.ขวดน้ำ
2.มีดคัดเตอร์
3.น้ำ
4.เหรียญ 1บาท

วิธีทำ
1.นำขวดน้ำมาตัดเป็นแก้วน้ำแล้วใส่น้ำลงไปจนเกือบ
เกือบเต็ม
2.หลังจากนั้นให้นำเหรียญ1บาทมาหยอดทีละเหรียญจนกว่าน้ำจะล้นจากแก้ว
3.กลุ่มไหนน้ำล้นจากแก้วก่อนเป็นผู้ชนะ


ประเมินตนเอง
วันนี้ฉันรู้สึกสนุกสนานที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดี อธิบายการกิจกรรม การสอนได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย

คำศัพท์ 
 
1.Hypothesis    สมมติฐาน
2.Overflow       ล้น
3.Plastic            พลาสติก
4.Duly               ตรงต่อเวลา
5.Achieve         บรรลุ

ครั้งที่6
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ 2562

ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองที่แต่ละกลุ่มได้เลือกไว้อาจารย์ กลุ่มของดิฉันได้เสนอการทดลองเรื่องสถานีมีลม และอาจารย์ได้พูดถึงทักษะวิทยาศาสตร์หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นั่งตามกลุ่มแล้วช่วยกักก้นอาจารย์ก็ให้นั่งตามกลุ่มแล้วช่วยกักกาดรนอแหล่งน้ำมา1แหล่งโดยจะให้เพื่อนๆทายว่าแหล่งน้ำที่วาดมาจากที่ไหน อยู่จังหวัดใด แล้วชื่อว่าอะไร กลุ่มของฉัน วาดน้าตกเอราวัณและอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกแบบที่กักเก็บน้ำ

ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน


ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทั้งหมด 13ทักษะ ดังนี้

ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้ จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
– สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
– สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้

ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) หมายถึง การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
– สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
– สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
– สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง

ทักษะ ที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
– สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง

ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
– สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้

ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
– สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
– สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
– สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้

ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
– สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย

ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มา

ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้

ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้

 ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้

ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการทดลองได้

ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม

ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่

ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลอง

ตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุมให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้

ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
– สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
– สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
– สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง

ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ

การลงข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และการสรุปผลความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปประเด็นสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการทดลองหรือศึกษา

ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ
– สามารถในการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นสำคัญ รวมถึงการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะของข้อมูล
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้

ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน





 ประเมินตนเอง
วันนี้ฉันตั้งใจเรียนและช่วยกันทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำในห้องอย่างตั้งใจและรู้สึกสนุกสนานที่ได้ทำกิจกรรมกับเพื่อนในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆช่วยกันทำงานที่อาจารย์มอบหมายกันอย่างตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนเป็นอย่างดี
ปะเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดี อธิบายการสอนและวิธีการสอนได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย


ครั้งที่ 5 
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ 2562

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มของตนเองและอาจารย์ก็มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนพิมใบการทดลอง็ โดยเมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้ส่งให้เพื่อนรวบรวมมาส่งครูโดยเลือกการทดลองมากลุ่มละ1การทดลองแล้วมานำเสนอในคาบถัดไป
ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน




                              รูปที่ 1 วัสดุอุปกรณ์   รูปที่ 2 งูกะดาษเต้นระบำ  รูปที่ 3 จุดไฟที่ด้านบนของถุง

แนวคิดหลักและการทดลอง
อากาศร้อนขยายตัว เคลื่อนที่เร็วและมีน้ำหนักน้อยกว่า
อากาศเย็น อากาศร้อนจึงเคลื่อนที่ด้านบน ส่วนอากาศเย็นจะหดตัวและเคลื่อนที่ช้า
เริ่มต้นจาก
-ตั้งคำถาม ในฤดูร้อนเด็กๆ เคยเห็นไอร้อนลอยขึ้นมาจากสนามบ้างไหม
- เด็กๆสามารถทดลองกับกระดาษเพื่อการศึกษาลักษณะของลมร้อนได้ โดยให้วาดวงกลมตามแบบลงบนกระดาษและใช้กรรไกรตัดออกมา ครูสอนวิธีวาดงูลงบนกระดาษแผ่นวงกลมให้กับเด็ก และให้เด็กใช้สีเมจิกในการวาดเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อเด็กๆระบายสี “ งู ” เสร็จแล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดตามเส้นที่วาดรูปงูออกมา
-เจาะรูที่จุดกึ่งกลางหัวงู และร้อยด้ายเข้าไป อาจใช้กระดาษกาวติดตรงบริเวณที่ร้อยด้ายเพื่อเพิ่มความ
แข็งแรงให้กับงูกระดาษ ( รูปที่2)
-แขวนงูกระดาษไว้เหนือเครื่องทำความร้อน หรือจัดโคมไฟตั้งพื้นให้ฉายไฟขึ้นข้างบน โปรดเตือนเด็กๆ สังเกตเห็นอะไรบ้าง และเมื่อเปิดไฟจะเกิดอะไรขึ้น
-เด็กๆรู้สึกอย่างไรเมื่อนำมือไปยังเหนือโคมไฟที่เปิดทิ้งไว้
ทดลองต่อไป
-ทำไมโคมลอยหรือบอลลูนถึงลอยขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ หรือแม้กระทั่งใบพัดหรือปีก
การทดลองต่อไปนี้สามารถอธิบายได้ โดยเด็กๆจะเป็นผู้ทำการทดลองเองทั้งหมด
-วางจานกระเบื้องลงบนโต๊ะสำหรับกันไฟ เตรียมไฟแช็กและน้ำไว้ให้พร้อมสำหรับดับไฟ ให้เด็กแต่ละคนหาที่ยืนหรือนั่งเพื่อให้สามารถสังเกตการทดลองได้ตลอดเวลาอย่าให้มีพัดลมภายในห้อง
-ครูช่วยเด็กแต่ละคนตัดถุงชา โดยตัดด้านบนตรงที่ผูกเชือกไว้ออก แล้วเทผงชาที่อยู่ข้างในทิ้ง
- ค่อยๆ แยกถุงชาออกจากกัน และจับให้เป็นทรงกระบอกแล้ววาง “ ท่อถุงชา ” ไว้บนจานในลักษณะตั้ง
- ต่อไปนี้ สิ่งที่น่าตื่นเต้นจะเกิดขึ้น จุดไฟที่ด้านบนของท่อถุงชา (รูปที่ 3) เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น


                                         รูปที่ 4 ถุงชากำลังลุกไหม้     รูปที่ 5 เถ้าถุงชาลอยขึ้นไปในอากาศ
เกิดอะไรขึ้น
-งูกระดาษที่แขวนอยู่เหนือเครื่องทำความร้อนจะหมุนและเริ่ม “เต้นระบำ” ถุงชาจะไหม้จากบนลงล่าง
( รูปที่ 4) ก่อนที่จะไหม้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะลอยขึ้นไปในอากาศประมาร  1-1.5 เมตร (รูปที่ 5) และลอยต่ำลงมาเมื่อเย็นตัวลง
คำแนะนำ
ครูค้นหาภาพโคมลอยหรือบอลลูนให้เด็กๆช่วยกันวาดภาพดังกล่าว เราสามารถสังเกตหลักการการทำงานหรือโครงสร้างของบอลลูนจากภาพได้หรือไม่ช่วยกันจุดเทียนไขหลายเล่ม ( ระวังความร้อนจากเปลวไฟ) แล้วให้ดับเทียนทีละเล่ม เด็กๆสังเกตเห็นอะไรบ้าง ขณะที่เทียนดับลงทีละเล่ม และมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับสาเหตุของสิ่งที่สังเกตได้นั้น เด็กอาจจะเคยสังเกตว่าอากาศที่เตียงชั้นบนมักจะอุ่นกว่าชั้นล่างนั่นเป็นเพราะอากาศที่ร้อนกว่าจะเคลื่อนตัวขึ้นด้านบน การทดลองเผาท่อถุงชาจะตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ถ้าครูเล่าเรื่องประกอบให้เด็กฟัง

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น อากาศประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆจำนวนมาก
เมื่ออากาศร้อนขึ้นอนุภาคเหล่านี้จะผลักดันและและชนกันแรงขึ้นทำให้ระยะห่างระหว่างอนุภาคมีมากขึ้นอากาศร้อนต้องการพื้นที่มากกว่าอากาศร้อน เย็นในปริมาณที่เท่ากันเด็กๆสามารถเล่นสนุกได้โดยสมมติว่า เด็กแต่ละคนคืออนุภาคอากาศเมื่ออากาศเย็นให้เด็กยืนชิดกันมากๆ และพยายามเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุดเมื่อเมื่ออากาศร้อนขึ้นให้เด็กๆยืนเต้น ซึ่งต้องการพื้นที่มากขึ้นและชนมากขึ้นด้วยเนื่องจากอนุภาคที่ร้อนนั้นอยู่ห่างกันมากความหนาแน่นของอากาศจึงน้อยกว่าและเบากว่า อากาศร้อนปริมาตร 1 ลิตร มีมวลน้อยกว่าอากาศเย็น 1 ลิตร อากาศร้อนอากาศเย็นจึงขึ้นสู่ด้านบน วัตถุที่มีน้ำหนักเบา เช่น งูกระดาษในการทดลองนี้สามารถเคลื่อนไหวได้เนื่องจากกระแสของลมร้อนที่เคลื่อนสู่ด้านบน ในกรณีของท่อถุงชาที่ไหม้ไฟ ทำให้อากาศร้อนเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน เช่นกัน จึงนำเข้าของถุงชา ที่ไหม้ไพ่ซึ่งยังคงเกาะติดกันลอยขึ้นไปในอากาศด้านบนด้วย


ครั้งที่ 4
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2562
 ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปหาการทดลองวิทยาศาสตมย์ให้นักศึกษาทุกคนไปหาการทดลองวิทยาศาสตมนละ1อย่างโดยไม่ซ้ำกัน และนำเอางานทดลองมาใส่ลงในบล็อก

จรวดถุงชามหัศจรรย์ ( Tea bag Rocket )


สิ่งที่คุณต้องเตรียม
   1. ถุงชา
   2. ไฟเเช็ก หรือไม้ขีดไฟ
   3.ถาด (เอาไว้รองพวกเปลวไฟ) 
   4.ถุงขยะ (สำหรับไว้ใส่ถุงชาที่ไหม้แล้ว)

วิธีการทดลอง 


     ตัดถุงชาด้านหนึ่งออก เทผงชาที่อยู่ด้านในทิ้ง จากนั้นนำถุงชามาตั้งเป็นทรงกระบอกลงบนถาด จุดไฟบนปากถุง แล้วเราลองมาดูกันว่าตอนปล่อยตัวจรวดถุงชาขึ้นฟ้านั้นจะเจ๋งแค่ไหนกัน

ทำไมถุงชาถึงลอยได้ ? 

          เหตุผลที่ถุงชาลอยขึ้นได้นั้น เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนภายในถุง ซึ่งลมร้อนนั้นเป็นอากาศที่เบามากส่งผลให้จรวดถุงชาลอยได้นั่นเอง
ความคิดเห็น

ลิงก์:https://sites.google.com/a/skburana.ac.th/wi-thn/kar-thdlxng


ครั้งที่ 3
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ 2562

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ได้เปิดคลิปวีดีโอให้นักศึกษาดู และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาหาสื่อมาคนละ1อย่าง สื่อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้จับฉลากมา ซึ่งกลุ่มของฉันจับได้เรื่อง อากาศ และเมื่อสัปดาห์อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปหาข้อมูลมา

 บรรยากาศในชั้นเรียน




ประเมินตนเอง
วันนี้ฉันตั้งใจเรียนและตั้งใจดูคลิปวีดีโอที่อาจารย์เปิดงป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อนๆ
เพื่อนๆตั้งใจดูคลิปที่อาจารย์เปิดกันอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนดี อธิบายเข้าใจง่าย


ครั้งที่ 2
วันที่16 สิงหาคม พ.ศ 2562

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มละ4-5คน และให้นักศึกษาเข้าเว็บไซต์ที่อาจารย์ให้เข้าแล้วถ่ายรูปกลุ่มมา1รูป  และให้แต่ละกลุ่มให้ตัวแทนอกมาจับฉลาก ว่าจะได้หัวข้อไหน
 
 

โดยมีหัวข้อให้จับฉลาก ดังนี้
1.แสง
2.อากาศ
3.น้ำ
4.เครื่องกล
5.หิน ดิน ทราย

กลุ่มของฉันจับได้เรื่องอากาศ โดยอาจารย์ให้ไปหาข้อมูลดังนี้
1.ที่มาและแหล่งกำเนิด
2.ลักษณะและคุณสมบัติ
3.ความสำัญและประโยชน์
4.การดูแลรักษา
5.โทษและผลกระทบ

 ภาพบรรยากาศในห้องเรียน



ประเมินตนเอง
วันฉันตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี
 ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน
ประเมิน อาจารย์ 
 อาจารย์สอนดี อธิบายทำให้เข้าใจเรื่องที่ให้ไปหาข้อมูลมาได้ถูกต้อง

คำศัพท์
1. Light      แสง
2.water      น้ำ
3.sound     เสียง
4.stone       หิน
5.sand        ทราย


ครั้งที่ 1 
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ 2562


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนอาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของวิชานี้ว่าเทอมนี้จะเรียนอะไรบ้าง รูปแบบการสอนจะเป็นแบบไหนรวมถึงเกณฑ์และสัดส่วนการให้คะแนนต่างๆในแต่ละชิ้นงานและอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนไปสร้างบล็อกเพื่อบันทึกการเรียนการสอนในแต่ละครั้งโดยมีงานที่มอบหมายให้หาดังนี้
1.วิจัย
2.บทความ
3.สื่อการสอน
4.เพลง
5.นิทาน
6.ลิ้งมหาลัยและคณะ

 คำศัพท์
1.Research              การวิจัย
2.learning                การเรียนรู้
3.Article                  บทความ
4. Frame work         กรอบการทำงาน
5.Science                 วิทยาศาสตร์



สื่อการสอน


อุปกรณ์
1.ลูกโป่ง
2.หลอดูดน้ำ
3.สก็อตเทป
4.กรรไกร
5.เชือก

วิธีการทำ
1.นำหลอดดูดน้ำร้อบไปบนเชือก
2.นำเชือกที่มีหลอดแขวนทั้งสองด้านยึดติดด้วยเชือก
3.เป่าลูกโป่งแล้วนำไปติดกับสก็อตเทป
4.แล้วนำสก็อตเทปไปติดกับหลอดดูดน้ำ
5.จากนั้นปล่อยลูกโป่งลูกโป่งจะเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ลูกโป่งของใครเคลื่อนที่ไปถึงจุดหมายของคนนั้นเป็นผู้ชนะ

ลิ้งค์: https://p-ject.com/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b9%86-%e0%b9%81
สรุปบทความ


การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment)
 เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองการมีปฏิสัมพนธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในก๊ารเรียนรู้เช่นการฟัง การเห็นการชิมรสการดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะฟื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างประสิทธิภาพซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มี 6 ประเภท ดังนี้
1.ทักษะการสังเกตุ
2.ทักษะการวัด
3.ทักษะการจำแนกประเภท
4.ทักษะการสื่อสาร
5.ทักษะลงความคิดเห็น
6.ทักษะการพยากรณ์
ประโยชน์การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กรวมถึงสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ดังนี้
ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
ㆍ ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะฟื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่นทักษะการสังเกตทักษะการจำแนกประเกททักษะการสื่อสารทักษะการลงความเห็นทักษะการวัดทักษะการสื่อสารเป็นต้นช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
ㆍ ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือรันอยากรู้อยากเห็นตลอดจนการใช้คำถาม"อะไร""ทำไม"และ"อย่างไร"
ㆍส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผลอย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ㆍ ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเองและสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา

สรุปวิจัย




หัวข้อวิจัย : ผลการจัดกิจกรรมวิมยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุุ 6-7 ปี
ผู้วิจัย : นางสาว ปุญจรีย์ กัมปนาทโกศล ปี 2552

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปีใน ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัดทักษะการจำแนกประเภทและทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

สมมุติฐานการวิจัย
 ได้ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กวัยอนุบาลผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากร คือ เด็กอายุ 6-7ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมศึกษา
1.1 มีการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา
1.2เป็นโรงเรียนที่มีการค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาและเผยแพร่การศึกษาของประเทศ
1.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมและเสริมประสบการณ์นอกเวลาการเรียนการสอนปกติ

2.ระยะเวลาในการทดลองรวม 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที

3.ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย
3.1 ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่
3.1.1 กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
3.1.2กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามการสอนแบบปกติ

3.2ตัวแปรตามคือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะได้แก่
3.2.1 ทักษะการสังเกต
3.2.2 ทักษะการวัด
3.2.3 ทักษะการจำแนกประเภท
3.2.4 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

สรุปการวิจัย
 การวิจัยเรื่องนี้เป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเด็กการวิจัยนี้จัดขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนักเรียนเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 6-7 ปีใน4ทักษะได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการวัดทักษะการจำแนกประเภทและทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ผลการทดลองหลังการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1